โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
ตำแหน่งที่น่าสนใจต่อไปจะเป็นการแทรกสอดของคลื่นในบริเวณที่อยู่ทางด้านขวามือและ
ด้านซ้ายมือของเส้นปฏิบัพ A0 ซึ่งมีรูปแบบที่เหมือนกัน ดังนั้นจะขอกล่าวถึงตำแหน่งบริเวณ
ด้านขวามือ ดังรูป 5.3-9 เนื่องจากจุดบริเวณนี้อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิด S1 มากกว่าแหล่งกำเนิด
S2 คลื่นจากแหล่งกำเนิด S1 จึงเคลื่อนที่ได้ระยะทางมากกว่าคลื่นจากแหล่งกำเนิด S2
ทำให้ระยะทาง S1P มากกว่าระยะทาง S2P ระยะทางแตกต่างซึ่งเท่ากับ S1P - S2P
จึงไม่เท่ากับศูนย์เหมือนบนเส้นปฏิบัพ A0
จากรูป 5.3-9 ค่าของระยะทางแตกต่างที่น่าสนใจจะเท่ากับความยาวของครึ่งลูกคลื่นหรือ
กล่าวได้ว่า จุดต่าง ๆ บนแนวเส้น N1 ซึ่งเกิดการแทรกสอดหักล้างจะสอดคล้องตามเงื่อนไข
ต่อไปนี้
ระยะทางแตกต่าง = S1P - S2P = 0.5 ลูกคลื่น =
รูปที่ 5.3-9 การแทรกสอดบนเส้นบัพ (ที่มา: พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ., 2557, หน้า 84)
จากรูป 5.3-9 (ก) คลื่นจากแหล่งกำเนิด S1 เคลื่อนที่ถึงจุด P1 เป็นระยะทาง เท่ากับ
จึงมีระยะทางแตกต่างเท่ากับความยาวคลื่น 0.5 ลูก หรือ
ส่วนจุดอื่น ๆ ที่เหลือบนแนวเส้น N1 จะมีระยะทางจากแหล่งกำเนิดแต่ละแหล่งถึงจุดนั้น ๆ
ตำราบางเล่มจะแทนตัวอักษรที่อยู่บนแนวเส้นบัพ ด้วยอักษร Q เพื่อให้แตกต่างจากแนวปฏิบัพ
ที่แทนด้วยอักษร P จะใช้อักษรใดก็ได้ขอให้นักเรียนสนใจที่ความหมายของตัวอักษรเป็นสำคัญ
สาเหตุเนื่องจากคลื่นที่เคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดด้วยเฟสตรงกันจะเกิดการแทรกสอด
หักล้างที่จุดนี้ ทำให้ไม่มีคลื่นลัพธ์ปรากฏให้เห็นและผิวน้ำไม่กระเพื่อม
ส่วนคลื่นจากแหล่งกำเนิด S2 เคลื่อนที่ถึงจุดนี้เป็นระยะทางเท่ากับ
มากขึ้น แต่ระยะแตกต่าง S1P - S2P ยังคงเท่ากับความยาวคลื่น 0.5 ลูก หรือ