โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล(S.H.M) 4/21
เมื่อทำให้วัตถุมีการสั่นหรือแกว่งในลักษณะต่าง ๆ ดังรูปที่ 2-7 จะมีการถ่ายโอนพลังงาน
ผ่านตัวกลางที่อยู่รอบ ๆ ตามลักษณะการสั่น ทำให้ตัวกลางเกิดการเคลื่อนที่ไปมาหรือสั่นกลับไป
กลับมาในลักษณะที่แตกต่างกัน
รูปที่ 2-7 การสั่นของวัตถุแบบต่าง ๆ (ภาพเคลื่อนไหว ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)
การสั่นที่เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย พบว่า การแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย
ในกรณีมุมเล็ก ๆ ดังรูปที่ 2-8 คาบของการแกว่งขึ้นอยู่กับความยาวของเชือกหรือความยาวของ
แขนที่ติดลูกตุ้ม
รูปที่ 2-8 การแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย (ที่มา: สสวท., 2556, หน้า 5)
(ภาพนิ่ง ที่มา: สสวท., 2556, หน้า 4)