โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล
การแทรกสอด 2/23

    นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรวมกันได้ของคลื่นหรือการซ้อนทับของคลื่นมาแล้วว่า ถ้าคลื่นดล
สองคลื่นเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการรวมกัน นักเรียนจะได้นำความรู้มาใช้ในเรื่องนี้

    สมบัติข้อนี้ของคลื่นจะแสดงความแตกต่างระหว่างคลื่นกับวัตถุได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
กับคลื่นตั้งแต่ 2 คลื่น เคลื่อนที่มายังตำแหน่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน ก่อนอื่นให้นักเรียน
พิจารณากรณีของวัตถุก่อน เช่น ลูกบอล 2 ลูก เคลื่อนที่เข้ามายังตำแหน่งเดียวกันในเวลา
เดียวกันดังรูป 5.3-2 (ก) ลูกบอลจะชนกันจากนั้นเคลื่อนที่ออกจากกัน หลังจากชนกันแล้ว
การเคลื่อนที่ของลูกบอลแต่ละลูกจะเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม


    แต่สำหรับคลื่น จะแตกต่างกัน เมื่อคลื่นตั้งแต่ 2 คลื่น เคลื่อนที่ผ่านบริเวณเดียวกัน
ในเวลาเดียวกัน เช่น คลื่นน้ำ จากแหล่งกำเนิด 2 แหล่งในรูป 5.3-2 (ข) คลื่นจะซ้อนทับกัน
ไม่ใช่ชนกันเหมือนอนุภาค อีกทั้งเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านกันไปแล้ว คลื่นแต่ละคลื่น
ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้วย ให้เรียกปรากฏการณ์ที่คลื่นตั้งแต่ 2 คลื่นขึ้นไปสามารถเคลื่อนที่
ผ่านบริเวณเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ว่า การแทรกสอด (interfetence)


ก. การชนกันของวัตถุ

ข. การรวมกันของคลื่นน้ำ

รูปเคลื่อนไหวความแตกต่างระหว่างวัตถุ 2 ก้อนกับคลื่น 2 คลื่นซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกัน
ในเวลาเดียวกัน (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)

รูปที่ 5.3-2
16/12/2558
16/12/2558