โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล
บทนำ 1/4

    ในชีวิตประจำวัน เราพบว่า พลังงานสามารถถ่ายเทจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งได้
โดยการส่งผ่านพลังงาน อาจมีตัวกลางในการส่งผ่านหรือไม่มีก็ได้ และตัวกลางอาจจะเคลื่อนที่
ไปพร้อมกับพลังงานหรือไม่ก็ได้ โดยถ้าพลังงานถูกส่งผ่านไปโดยที่ตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่
ไปด้วยแต่ตัวกลางเกิดการสั่นเราเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า การเคลื่อนที่ของคลื่นกล
คลื่นตามคำจำกัดความ หมายถึง การรบกวน (disturbance) สภาวะสมดุลทางฟิสิกส์ โดยการ
รบกวนเกิดจากการได้รับพลังงานที่ถูกถ่ายเทจากภายนอก และการรบกวนนั้นจะเคลื่อนที่จาก
จุดหนึ่งออกไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามเวลาที่ผ่านไป

รูปที่ 1-2 การตีน้ำทำให้เกิดคลื่นผิวน้ำ (ที่มา: ปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล)

    การเคลื่อนที่แบบคลื่นเป็นการถ่ายโอนพลังงานจากการรบกวน โมเลกุลของตัวกลางที่ได้รับ
พลังงานจะเคลื่อนที่ตามจังหวะของแหล่งกำเนิดคลื่น แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น
ซึ่งแตกต่างจากการเคลื่อนที่แบบอนุภาคซึ่งอนุภาคที่ถูกรบกวนจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับพลังงาน
มีปรากฏการณ์รอบตัวเรามากมายที่มีการเคลื่อนที่แบบคลื่นนี้ เช่น คลื่นน้ำ คลื่นเสียง
คลื่นในเส้นเชือก คลื่นแผ่นดินไหว คลื่นมหาสมุทร คลื่นสึนามิ รังสีต่างๆจากแสงอาทิตย์
เป็นต้น

มิน่าละเวลาเจ้าพวกมนุษย์
มาเล่นน้ำทีไร ใต้ท้องน้ำบ้านเรา
รู้สึกสั่นสะเทือน
เพราะเกิดการถ่ายโอนพลังงาน
นั่นเอง

รูปที่ 1-1 รูปเคลื่อนไหวลักษณะการเกิดคลื่นแบบไซน์ (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)

    นักเรียนคงเคยเห็นการเกิดคลื่นจากคนหลาย คนเรียงต่อกันดังรูปที่ 1-1 มาบ้างแล้ว นักเรียน
ทราบหรือไม่ว่าคลื่นดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นคลื่นแบบใด นักเรียนสามารถค้นหาคำตอบได้
จากบทเรียนนี้ค่ะ
18/11/2558
18/11/2558