โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล
การแทรกสอด 3/23

    ปรากฏการณ์การแทรกสอดของคลื่น ถือเป็นสมบัติที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็น
ความแตกต่างระหว่างคลื่นกับอนุภาค

    การซ้อนทับของคลื่นจะมีรูปแบบที่น่าสนใจ เมื่อคลื่น 2 คลื่นเกิดจากแหล่งกำเนิดประเภท
หนึ่งที่เรียกว่า แหล่งกำเนิดอาพันธ์ (coherent sources) แหล่งกำเนิดประเภทนี้
เป็นแหล่งกำเนิดที่สร้างคลื่นใด ตั้งแต่ 2 แหล่ง ในกรณีของคลื่นน้ำอาจใช้ปุ่ม 2 ปุ่มสร้างคลื่นน้ำ
2 คลื่น ดังรูป 5.3-3 (ก) จากรูปจะแทนแหล่งกำเนิดทั้งสองด้วย S1 และ S2 ตามลำดับ
(S ย่อมาจากคำว่า source หมายถึง แหล่งกำเนิด) ไม่ใช่แค่นั้น คลื่นที่สร้างขึ้นจะต้องมีความถี่
เท่ากันและมีเฟสตรงกัน หรือต่างกันคงที่ 

    รูป 5.3-3 (ข) ขวดทั้ง 2 ขวดกระแทกผิวน้ำพร้อมกันตลอดเวลาทำให้คลื่นมีความถี่เท่ากัน และยังทำให้
คลื่นที่เกิดขึ้นมีเฟสตรงกันด้วย ซึ่งหมายถึงเมื่อคลื่นหนึ่งเป็นสันคลื่น อีกคลื่นหนึ่งจะเป็นสันคลื่น
ด้วย และเมื่อคลื่นจากแหล่งกำเนิดแรกเปลี่ยนเป็นท้องคลื่น คลื่นอีกแหล่งกำเนิดหนึ่งจะสร้างคลื่น
ที่เป็นตำแหน่งท้องคลื่นด้วยเช่นกัน คือ กล่าวได้ว่าทั้ง 2 คลื่นมีเฟสตรงกันเสมอ เมื่อพิจารณา
เฟสที่ต่างกันจึงเท่ากับ ศูนย์องศา ตลอดเวลา ดังนั้น ขวด 2 ขวดนี้ จึง ถือว่าเป็น
แหล่งกำเนิดอาพันธ์ชนิดเฟสตรงกัน นอกจากนั้นแล้วคลื่นทั้งสองยังเคลื่อนที่ในตัวกลาง


ความถี่เท่ากัน


เฟสตรงกัน
หรือต่างกันเท่ากับศูนย์องศา

ก. แหล่งกำเนิดอาพันธ์


รูปที่ 5.3-3 แหล่งกำเนิดอาพันธ์ชนิดเฟสตรงกัน (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)


ข. ภาพเคลื่อนไหวแสดงแหล่งกำเนิดอาพันธ์

ประเภทเดียวกันทำให้อัตราเร็วคลื่นเท่ากันเมื่อพิจารณาตามสมการ
คลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์มีความยาวคลื่นเท่ากันด้วย 
จะพบว่า
16/12/2558