โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
ในกรณีที่ขวดทั้งสองสร้างคลื่นที่มีความถี่เท่ากัน แต่คลื่นมีเฟสตรงข้าม ซึ่งหมายถึงเมื่อ
คลื่นหนึ่งเป็นสันคลื่น อีกคลื่นหนึ่งจะเป็นท้องคลื่น จากนั้นเมื่อคลื่นแรกเปลี่ยนเป็นท้องคลื่น
คลื่นที่สองจะเปลี่ยนเป็นสันคลื่นแทน คลื่น 2 คลื่นเช่นนี้มีเฟสต่างกันเท่ากับ 180 องศา
ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์ด้วยเช่นกัน แต่ในกรณีนี้ คลื่นมีเฟสตรงกันข้าม
การแทรกสอดกันของคลื่นทำให้เห็นเป็นริ้วของการแทรกสอด ดังรูป 5.3-3 (ข) อันเนื่อง
มาจากการรวมกันแบบเสริม ของสันคลื่นทั้ง 2 ขบวนและท้องคลื่นทั้ง 2 ขบวน และการรวม
กันแบบหักล้างที่เกิดจากการที่สันคลื่นของคลื่นขบวนหนึ่งรวมกับท้องคลื่นของคลื่นขบวนที่สอง
ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่า การแทรกสอด จะมี 2 ลักษณะ คือ การแทรสอดแบบเสริม
และการแทรกสอดแบบหักล้าง
1. การแทรกสอดแบบเสริม (constructive interference) เป็นการแทรกสอดที่
เกิดจากคลื่นที่มีการกระจัดไปทางเดียวกัน เดินทางมาพบกัน เช่น สันคลื่นเจอสันคลื่น หรือ
ท้องคลื่นเจอกับท้องคลื่น จะมีผลทำให้แอมพลิจูดรวมของคลื่นรวมมีค่ามากกว่าเดิม เราเรียก
ตำแหน่งนี้ว่า ปฏิบัพ ดังรูป 5.3-4 (ก)
2. การแทรกสอดแบบหักล้าง (destructive interference) เป็นการแทรกสอดที่
เกิดจากคลื่นที่มีการกระจัดทิศตรงข้ามกัน เดินทางมาพบกัน เช่น สันคลื่นเจอท้องคลื่น
จะมีผลทำให้แอมพลิจูดรวมของคลื่นรวมมีค่าน้อยกว่าเดิม เราเรียกตำแหน่งนี้ว่า บัพ
ดังรูป 5.3-4 (ข)
แสดงการแทรกสอดแบบเสริมและแบบหักล้าง (ที่มา: ณัฐภัสสร เหล่าเนตร และประดิษฐ์
เหล่าเนตร., 2555, หน้า 42)