โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

    การซ้อนทับของคลื่นหรือการรวมกันของคลื่น เกิดขึ้นเมื่อมีคลื่นตั้งแต่ 2 คลื่นเคลื่อนที่มาพบกัน
จะเกิดการรวมกัน การซ้อนทับกันของคลื่นส่งผลให้แอมพลิจูดของคลื่นเปลี่ยนแปลงไปโดย
ความถี่คลื่น ความยาวคลื่นและความเร็วคลื่นไม่เปลี่ยน การซ้อนทับกันของคลื่นจะมี 2 ลักษณะ
ดังนี้

4.1 การรวมแบบเสริมกัน (Constructive Superposition) เกิดเมื่อคลื่นตั้งแต่สองคลื่นที่มี
การกระจัดไปทางทิศเดียวกันเคลื่อนที่มาพบกัน เช่น สันคลื่นกับสันคลื่น หรือท้องคลื่นกับ
ท้องคลื่น คลื่นทั้งสองจะรวมกันทำให้เกิดการกระจัดลัพธ์ ณ ตำแหน่ง และเวลาหนึ่ง ๆ
มีขนาดมากกว่าการกระจัดเดิมของคลื่นแต่ละคลื่น โดยการกระจัดรวม หาได้จากผลบวก
ของการกระจัดของคลื่นทั้งสอง ณ ตำแหน่งและเวลานั้น ๆ  ดังรูป 4-1

ก. การรวมแบบเสริมกันของคลื่น 2 ขบวน

    จากรูป 4-1 (ก) คลื่น C จะมีค่าของแอมพลิจูดมากขึ้น เท่ากับผลรวมของแอมพลิจูด A
และ B การรวมกันนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะตอนที่คลื่นซ้อนทับกันเท่านั้น เมื่อคลื่นผ่านพ้นกันไปแล้ว
คลื่นแต่ละคลื่นจะมีลักษณะเหมือนเดิมและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม ดังรูป 4-1 (ข)

ข. การรวมแบบเสริมกันของคลื่น 2 ลูก
ณ เวลาต่าง ๆ

รูปที่ 4-1 การรวมแบบเสริมกันของคลื่น (ที่มา: ณัฐภัสสร และประดิษฐ์ เหล่าเนตร., 2555, หน้า 23)

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองสืบค้นและอธิบายการซ้อนทับของคลื่น และเขียนภาพคลื่นที่เกิดจากการซ้อนทับของคลื่น
สองคลื่นได้
การซ้อนทับของคลื่น 1/6

คลิกดูวิดีโอการทดลอง
ของ นักเรียน
เรื่อง การรวมกันแบบเสริม

คลิกดูวิดีโอการทดลอง
ของนักเรียน
เรื่อง การรวมกันแบบหักล้าง