โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
ถ้ากำหนดให้การหักเหของคลื่นจากตัวกลาง 1 ไปสู่ตัวกลาง 2 โดย n1 คือ ดรรชนีหักเห
ของตัวกลางที่ 1 และ n2 คือ ดรรชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 อัตราส่วนของค่า
จะเรียกว่า ดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 เทียบกับตัวกลางที่ 1 ถูกเขียนแทนด้วย
ดังนั้นจากสมการ (5.2-5) จะเขียนได้ว่า
ซึ่งจากสมการ (5.2-6) เราเรียกว่า กฏของสเนลล์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า "สำหรับตัวกลาง
คู่หนึ่ง ๆ อัตราส่วนของค่าไซน์ของมุมในตัวกลางตกกระทบ (ตัวกลางที่ 1) ต่อค่าไซน์ของมุม
ในตัวกลางหักเห (ตัวกลางที่ 2) จะมีค่าคงที่เสมอ"
คือ ดรรชนีหักเหของตัวกลางที่ 1
คือ ดรรชนีหักเหของตัวกลางที่ 2
รูปที่ 5.2-11 ภาพเคลื่อนไหวการหักเหของน้ำสีในแก้ว 2 ใบ (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)
จากภาพ 5.2-11 เป็นการหักเหของน้ำที่อยู่ในแก้ว 2 ใบ เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านแก้ว
และน้ำในแก้วจะเกิดการหักเหทำให้ภาพที่ปรากฏขึ้นมีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากเดิม
โดยที่การหักเหของแสงผ่านแก้วน้ำทรงกระบอกจะทำให้เกิดภาพที่สลับซ้ายขวา
การหักเหดังภาพเกิดขึ้นจากการที่แสงแดงจากแก้วทางด้านขวาเกิดการหักเหไปปรากฏ
เป็นภาพทางด้านซ้ายของแก้วน้ำด้านหน้า และแสงสีเขียวจากแก้วทางด้านซ้ายเกิดการหักเห
ไปปรากฏเป็นภาพในด้านขวาของแก้วน้ำด้านหน้า