โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
ที่ผ่านมาได้ใช้หน้าคลื่นแสดงทิศของคลื่นที่เกิดการหักเห แต่ทิศการเคลื่อนที่ยังสามารถ
ใช้รังสีได้ด้วย ในส่วนต่อไปจะแสดงการหักเหด้วยรังสีตกกระทบและรังสีหักเหดังรูป 5.2-12
จากรูป 5.2-12 ลูกศรสีน้ำเงิน คือ แนวรังสีตกกระทบ และแนวของรังสีหักเห ส่วนเส้นสีดำ
ที่แสดงภาพเคลื่อนไหว คือ หน้าคลื่น ซึ่งจะแสดงรายละเอียดได้ดังรูปที่ 5.2-13
รูปที่ 5.2-13 การหักเหของคลื่นที่ใช้รังสีแสดงทิศการเคลื่อนที่ (ที่มา : ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)
ในกรณีที่ใช้รังสีแสดงทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น มุมตกกระทบและมุมหักเหจะเป็นมุมระหว่าง
รังสีของคลื่นนั้น ๆ กับเส้นแนวฉาก ซึ่งขนาดของมุมสัมพันธ์กับอัตราเร็วคลื่นในตัวกลางตาม
ที่ได้ข้อสรุปมาแล้วคือ ในตัวกลางที่คลื่นมีอัตราเร็วมากกว่ามุม
ของคลื่นในตัวกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในรูป 5.2-13 (ก) คลื่นเคลื่อนที่จากน้ำลึกไปยัง
น้ำตื้น เนื่องจากอัตราเร็วคลื่นในน้ำลึกมากกว่าในน้ำตื้น มุมหักเห
มุมตกกระทบ
เข้าหาเส้นแนวฉาก
ในทางตรงกันข้าม เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากน้ำตื้นไปยังน้ำลึกดังรูป 5.2-13 (ข) มุมหักเหจะมีขนาด
ใหญ่กว่ามุมตกกระทบ ทำให้รังสีหักเหเบนจากแนวของรังสีตกกระทบออกห่างจากเส้นแนวฉาก
มากขึ้น
ระหว่างรังสีกับเส้นแนวฉาก
เมื่อเขียนมุมทั้งสองนี้ด้วยรังสีแล้ว รังสีหักเหจะเบนจากแนวของรังสีตกกระทบ