โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

    เมื่อนักเรียนเข้าใจการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำผ่านตัวกลางที่มีความลึกไม่เท่ากัน โดยไม่มีการ
เปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่แล้ว ให้นักเรียนลองระบุความลึกของน้ำจากรูปการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำ
ในรูปที่ 5.2-6 จากนั้น ค่อยอ่านคำอธิบายในส่วนต่อไป

(ก)
(ข)

ความลึกของน้ำระบุได้จากระยะห่างระหว่างหน้าคลื่น

    หน้าคลื่นของคลื่นในรูปที่ 5.2-6 (ก) อยู่ห่างกันในตัวกลาง 2 มากกว่าตัวกลาง 1 ดังนั้น
อัตราเร็วคลื่นในตัวกลาง 2 จึงมากกว่าในตัวกลาง 1 ทำให้ตัวกลาง 1 เป็นน้ำตื้น ส่วนตัวกลาง
2 เป็นน้ำลึก

    สำหรับรูปที่ 5.2-6 (ข) จะใช้คำอธิบายเหมือนกับภาพ (ก) และสรุปได้เหมือนกันคือ
ตัวกลาง 1 เป็นน้ำลึก และตัวกลาง 2 เป็นน้ำตื้น

ทิศทางการหักเหของคลื่นน้ำเมื่อหน้าคลื่นไม่ขนานกับแนวรอยต่อระหว่างตัวกลาง
(คลิกเพื่อดูวิดีโอการทดลอง) (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)

จากรูป 5.2-7 จะสังเกตเห็นว่าเมื่อคลื่นน้ำเคลื่อนที่ในตัวกลางที่ต่างกัน คือน้ำลึกและน้ำตื้น
จะเห็นว่าหน้าคลื่นมีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ นักเรียนจะได้ศึกษาในหน้าถัดไป
การหักเห 4/17

รอยต่อตัวกลาง

รอยต่อตัวกลาง
(ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)

รูปที่ 5.2-6

รูปที่ 5.2-7