โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
ดังนั้นจากสมการที่ (5.4-5) เมื่อพิจารณาทางด้านคณิตศาสตร์ หาก
ความสัมพันธ์ของเส้นบัพ N1 ได้เป็น
ซึ่งเกิดขึ้นไม่ได้ จึงสรุปได้ว่า
คลื่นเลี้ยวเบนผ่านช่องเปิดได้ดีเมื่อความกว้างของช่องเปิดน้อยกว่าความยาวคลื่น
ดังนั้นจะสรุปเรื่องราวทั้งการแทรกสอดและการเลี้ยวเบนให้กระชับและชัดเจนดังนี้
การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนมีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่ปรากฏการณ์ทั้งสองมีพื้นฐาน
จากหลักการซ้อนทับเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างกันซึ่งมักใช้แยกระหว่างการแทรกสอดกับการเลี้ยวเบน
คือ การแทรกสอดเกิดจากการซ้อนทับของคลื่นจำนวนจำกัด ซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์
คนละแหล่ง ในขณะที่การเลี้ยวเบนเกิดจากการซ้อนทับของคลื่นลูกเล็กจำนวนอนันต์
ซึ่งมาจากตำแหน่งต่างกันบนหน้าคลื่นเดียวกัน
ตัวอย่างที่ 5.4-1 คลื่นน้ำหน้าตรงต่อเนื่องเคลื่อนที่เข้าหาช่องเปิดเดี่ยวกว้าง 0.18 เมตร
คลื่นน้ำที่ผ่านช่องเปิดเดี่ยวออกมาจะเกิดการแทรกสอดได้แนวบัพทั้งหมด 10 แนวอยากทราบว่า
ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำเป็นเท่าไรให้ตอบในหน่วยเซนติเมตร
1. ความกว้างของช่องแคบเดี่ยว คือ w = 0.18 m (ตำราบางเล่มใช้อักษร d )
2. การเลี้ยวเบนของคลื่นน้ำผ่านช่องแคบเดี่ยวแล้วแทรกสอดเห็นลวดลายของคลื่นนิ่ง
มีแนวบัพชัดเจน 10 แนว
3. จำนวนแนวบัพ คือ n = 5 (ครึ่งหนึ่งของแนวบัพทั้งหมดคิดด้านซ้ายหรือขวาก็ได้)
4. โจทย์ต้องการหาความยาวคลื่น คือ
ให้คิดแนวบัพสุดท้ายขนานกับแหล่งกำเนิด S1,S2 มุม
ดังนั้น ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำเป็น 3.6 เซนติเมตร