โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

    การเลี้ยวเบนของคลื่นจะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของความกว้างของช่องเปิด
เทียบกับความยาวคลื่น เราจะพิจารณาการเลี้ยวเบนของคลื่นเมื่อช่องเปิดมีความกว้างต่าง กัน
ดังรูป 5.4-11 
   

    สำหรับช่องเปิดที่มีความกว้าง
มากกว่าความยาวคลื่น ดังรูป
5.4-11 (ก) การเลี้ยวเบนของคลื่น
จะเกิดขึ้นน้อย โดยหน้าคลื่น
ส่วนที่ไม่ถูกกีดขวางจะเคลื่อนที่
ค่อนข้างตรงผ่านช่องเปิดออกไป
ทำให้หลังสิ่งกีดขวางมีบริเวณ
ที่ไม่มีคลื่นปรากฏให้เห็น
อย่างเด่นชัด

    แต่เมื่อช่องเปิดแคบลงดังรูป
5.4-11 (ข) หน้าคลื่นจะเลี้ยวเบน
มากขึ้นและกระจายเข้าไปยัง
ด้านหลังสิ่งกีดขวาง

    และเมื่อช่องเปิดมีความกว้าง
พอ กับความยาวคลื่นหรือ
น้อยกว่า ดังรูป 5.4-11 (ค)
ช่องเปิดจะเป็นเสมือน
แหล่งกำเนิดแบบจุด
ซึ่งทำให้คลื่นที่ผ่านช่องเปิด
มีหน้าคลื่นเป็นรูปวงกลม

รูปที่ 5.4-11

(ค)

(ข)

(ก)
การเลี้ยวเบน 6/13

    เมื่อนักเรียนศึกษามาจนถึง
จุดนี้ นักเรียนคงตอบคำถาม
ในรูป 5.4-1 ได้แล้วว่าเกิดจาก
การเลี้ยวเบน และอยู่ในกรณี
ดังรูป 5.4-11 (ค)
(ที่มา: ปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล)

รูปเคลื่อนไหวการเลี้ยวเบนของคลื่นน้ำผ่านช่องเปิดเดี่ยวที่มีความกว้างต่างกัน
23/12/2558
23/12/2558
23/12/2558