โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

รูปเคลื่อนไหวการเลี้ยวเบนของคลื่นผ่านช่องเปิด 2 ช่อง คลิกเพื่อทดลอง

หมายเหตุ: ถ้าไม่สามารถทดลองได้ให้ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมจาวา
                 และ แฟล็ช ก่อนค่ะ โปรดอ่านรายละเอียดตรงคำแนะนำในการเรียน

    จากรูป 5.4-14 เมื่อช่องเปิด 2 ช่องมีระยะห่างกันมากขึ้น ให้เป็นระยะ d ลวดลาย
การแทรกสอดก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โดยให้ช่องเปิดทั้ง 2 ช่อง คือ แหล่งกำเนิด S1
และ S2 ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์ ให้สังเกตว่าระยะห่าง d ไม่ใช่ความกว้าง w
ของช่องเปิดแต่ละช่อง ดังรูป 5.4-15

    เมื่อแทนช่องเปิดแคบ 2 ช่องด้วยแหล่งกำเนิด S1 และ S2 ดังรูป 5.4-15 แล้ว การแทรกสอด
ที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ในหัวข้อเรื่องการแทรกสอด
ที่ผ่านมา ในที่นี้จะทบทวนสั้น ๆ ดังนี้
   

แหล่งกำเนิดอาพันธ์ 2 แหล่งจากช่องเปิดแคบ 2 ช่องที่อยู่ห่างกันเป็นระยะ d

    เริ่มจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ชนิดเฟสตรงกัน ลวดลายการแทรกสอดจะประกอบด้วยเส้นตรง
ที่ตำแหน่งตรงกลางเป็นเส้นปฏิบัพ A0 จากนั้นด้านซ้ายมือและขวามือของเส้นปฏิบัพ A0 จะมี

รูปแบบเหมือนกันคือเป็นเส้นบัพสลับกับปฏิบัพ ความสัมพันธ์ของเส้นปฏิบัพคือ
เมื่อ n = 0, 1, 2, 3, ... ส่วนความสัมพันธ์ของเส้นบัพจะเป็น

เมื่อ n = 1, 2, 3, ... หากจุด P หรือ Q อยู่ห่างจากช่องเปิดมากเมื่อเทียบกับระยะห่าง d

จะสามารถแทนความต่างระยะทาง

การเลี้ยวเบน 8/13
(ที่มา: ปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล)
หรือ
ด้วยปริมาณ
ได้

รูปที่ 5.4-14 

รูปที่ 5.4-15 
(ที่มา: ดัดแปลงจาก https://phet.colorado.edu)