โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
สำหรับกรณีที่ช่องเปิดแคบ 2 ช่องเป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์ชนิดเฟสตรงกันข้าม ลวดลาย
การแทรกสอดจะประกอบด้วยเส้นตรงที่ตำแหน่งตรงกลางเป็นเส้นบัพ N0 จากนั้นด้านซ้ายมือและ
ขวามือของเส้นบัพ N0 จะมีรูปแบบเหมือนกันคือเป็นเส้นปฏิบัพสลับกับเส้นบัพ โดยความสัมพันธ์
ของเส้นปฏิบัพและเส้นบัพจะสลับกับกรณีของแหล่งกำเนิดอาพันธ์ชนิดเฟสตรงกัน ดังรูป 5.4-16
สรุปได้ว่าการแทรกสอดของคลื่นจากช่องเปิดแคบ 2 ช่องเหมือนกับการแทรกสอดของคลื่น
จากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ 2 แหล่ง
หากช่องเปิด 1 ช่องแคบมากพอที่คลื่นจะแสดงปรากฏการณ์การเลี้ยวเบน แต่ไม่แคบมากจน
กลายเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นแบบจุดเหมือนกับที่ผ่านมาหัวข้อเรื่องการแทรกสอดแล้ว คลื่นซึ่ง
เคลื่อนที่ผ่านช่องเปิด 1 ช่อง หรือเรียกว่า ช่องเปิดเดี่ยว แต่ถ้ามีช่องเปิด 2 ช่อง จะเรียกว่า
ช่องเปิดคู่ สามารถคำนวณเกี่ยวกับการเลี้ยวเบนของคลื่นได้ดังนี้
แบ่งช่องแคบเดี่ยวออกเป็น 2 ช่องเท่า ๆ กัน เนื่องจากจุดทุก ๆ จุดบนหน้าคลื่นสามารถ
ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นใหม่ แสดงว่าช่องแบ่งแรกรวมเป็นแหล่งกำเนิดคลื่น S1 และ
ช่องแบ่งที่สองรวมเป็นแหล่งกำเนิดคลื่น S2 ดังรูป 5.4-17
พิจารณาจุด P ซึ่งอยู่ห่างจากช่องเปิดมากจะพบว่าเส้นตรงที่ลากจากแหล่งกำเนิดคลื่นลูกเล็ก
แต่ละแหล่งไปยังจุด P สามารถประมาณให้เป็นเส้นขนานกันได้ ในกรณีที่จุด P อยู่ตรงกึ่งกลาง
ช่องเปิด ดังรูป 5.4-17 เส้นตรงเหล่านี้จะเป็นเส้นในแนวดิ่งซึ่งประมาณให้ยาวเท่ากันได้ ดังนั้น
คลื่นลูกเล็กทั้งหมดจึงเคลื่อนที่ไปถึงจุด P ได้ระยะทางเท่ากันและมีเฟสตรงกัน ทำให้เกิด
การแทรกสอดเสริมเป็นเส้นปฏิบัพ A0
รูปที่ 5.4-17 เส้นปฏิบัพ A0 ของช่องเปิดเดี่ยว (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)
การเลี้ยวเบนของคลื่นผ่านช่องเปิดคู่แล้วเกิดการแทรกสอดกรณีเฟสตรงกัน
และเฟสตรงกันข้าม (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)