โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

รูปที่ 5.4-3 ความแตกต่างระหว่างคลื่นที่เลี้ยวเบนกับวัตถุ (ที่มา: พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ., 2557, หน้า 103)

    จากรูป 5.4-3 เป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์ที่คนร้ายกำลังยิงปืนต่อสู้กับตำรวจที่มุมอาคารในภาพนี้
คนร้ายยิงปืนจากด้านหนึ่งของอาคาร กระสุนซึ่งเป็นวัตถุจะเคลื่อนที่ตรง ผ่านมุมอาคารโดยไม่
สามารถเลี้ยวโค้งเข้าหาตำรวจที่อยู่อีกด้านหนึ่งได้ ในทางตรงกันข้าม เสียงจากการยิงปืนและเสียง
จากการพูดซึ่งเป็นคลื่นประเภทหนึ่งจะสามารถเลี้ยวโค้งอ้อมมุมอาคารมายังตำรวจได้ ทำให้ตำรวจ
ได้ยินเสียงดังกล่าวได้ แม้ว่าตำรวจจะหลบอยู่อีกด้านหนึ่งของมุมอาคารซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่
ของคลื่นเสียง

    จะเห็นได้ว่าจากตัวอย่างดังกล่าวแสดงความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างคลื่นที่เลี้ยวเบนได้
กับวัตถุที่เลี้ยวเบนไม่ได้ หากจะมองเหตุการณ์ให้ใกล้ตัวนักเรียนมากขึ้น ก็จะเป็นกรณีที่
ครูที่สอนอยู่ในห้อง แต่นักเรียนที่อยู่นอกห้องยังได้ยินเสียงครู เป็นต้น

    ในบางสภาวะคลื่นประเภทหนึ่งอาจเลี้ยวเบนได้มากจนสังเกตได้ง่าย เช่นการเลี้ยวเบนของ
คลื่นน้ำเมื่อมีสิ่งกีดขวาง ดังรูป 5.4-4 ในขณะที่คลื่นอีกประเภทอาจเลี้ยวเบนน้อยจนสังเกตไม่เห็น
อย่างไรก็ดี คลื่นทุกประเภทสามารถเลี้ยวเบนได้ ในหัวข้อนี้นักเรียนจะได้ศึกษาหลักการพื้นฐาน
ของการเลี้ยวเบนจากคลื่นน้ำ ซึ่งนักเรียนสามารถนำหลักการไปใช้กับคลื่นเสียงและคลื่นแสงได้

รูปที่ 5.4-4

   
การเลี้ยวเบน 2/13
(ที่มา: ปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล)

รูปเคลื่อนไหวการเลี้ยวเบนของคลื่นผิวน้ำเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง

   
23/12/2558