โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
คือ อัตราเร็วของคลื่นในเส้นเชือก มีหน่วย เมตรต่อวินาที (m/s)
คือ ความถี่ของเครื่องสั่น มีหน่วย เฮิรตซ์ (Hz)
คือ ความยาวคลื่น มีหน่วย เมตร (m)
คือ ความยาวของเชือก มีหน่วย เมตร (m)
ความถี่ต่ำสุดที่ทำให้เกิดคลื่นนิ่งคือ f1 ซึ่งคำนวณได้จากการแทน n = 1 ลงในสมการ (6-3)
ความถี่ต่ำสุดนี้เรียกว่า ความถี่มูลฐาน (fundamental frequency)
ซึ่งสามารถใช้หาความถี่อื่น ๆ ของคลื่นนิ่งได้ โดยเปลี่ยนรูปสมการ (6-3) ดังนี้
สมการ (6-4) แสดงให้เห็นว่า ความถี่อื่น ๆ ของคลื่นนิ่งสามารถคำนวณได้จากผลคูณของ
จำนวนเต็ม n กับความถี่มูลฐาน f1 โดยทั่วไปจะกำหนดให้มีการเรียกชื่อความถี่อื่นๆ ที่
สัมพันธ์กับความถี่มูลฐาน 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบแรก จะเรียกความถี่มูลฐานเป็น ฮาร์มอนิก (harmonic) ที่ 1 ส่วนความถี่อื่น ๆ
ที่เป็นจำนวน n เท่าของความถี่มูลฐานจะเรียกเป็น ฮาร์มอนิกที่ n เช่น เมื่อคลื่นนิ่งมีความถี่เป็น
2, 3, 4, ... เท่าของความถี่มูลฐานก็จะเรียกว่า ฮาร์มอนิกที่ 2, 3, 4, ... ตามลำดับ
รูปแบบที่สอง จะเรียกตามลำดับของความถี่ที่อยู่ถัดจากความถี่มูลฐาน ยกตัวอย่างเช่น
หากความถี่ที่อยู่ถัดจากความถี่มูลฐานเป็น f2, f3, f4, ... แล้วจะเรียก f2, f3, f4, ...ว่าเป็น
ความถี่เกิน (overtone) ที่ 1, 2, 3, ... ตามลำดับ
หมายเหตุ ในตำราบางเล่มจะแทนคำว่า fundamental frequency ด้วยคำว่า ความถี่หลักมูล