โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

    จากสถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้สามารถสรุปได้ว่า เมื่อมีคลื่นตกกระทบรอยต่อระหว่างตัวกลาง
จะเกิดการสะท้อน โดยคลื่นสะท้อนอาจมีเฟสตรงกันหรือมีเฟสตรงข้ามกันกับคลื่นตกกระทบ
ขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยต่อระหว่างตัวกลางและความหนาแน่นของตัวกลาง และภาพของคลื่น
ที่ปรากฏแก่สายตาของเราจะเป็นผลรวมของคลื่นตกกระทบและคลื่นสะท้อนตามหลักของเวกเตอร์
ดังรูป 5.1-6 ดังนี้

แสดงการเกิดการสะท้อนของคลื่นจุดปลายตรึงแน่น

(ที่มา: ณัฐภัสสร เหล่าเนตรและประดิษฐ์ เหล่าเนตร., 2555, หน้า 29)

คลื่น A

คลื่น B
   
    เมื่อคลื่นดล A กำลังเคลื่อนที่เข้าหาจุดตรึง O ในการหารูปร่างของคลื่นสะท้อนให้เสมือน
มีคลื่นดล B ที่มีลักษณะเหมือนเป็นภาพทางแสงของคลื่นดล A จากกระจกเราระนาบ
แล้วพลิกกลับรอบแนวปกติ คลื่นดล B จะมีทิศทางการเคลื่อนที่ที่สวนกับคลื่นดล A และ
มีอัตราเร็วเท่ากับคลื่นดล A คลื่นที่ปรากฏแก่สายตาจะเป็นผลรวมของคลื่นตกกระทบ A
และ คลื่นสะท้อน B ดังรูป 5.1-6

คลื่นรวมที่ปรากฏแก่สายตา
O
O
การสะท้อน 4/15

รูปที่ 5.1-6