โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

4.2 การรวมแบบหักล้างกัน (Destructive Superposition) เกิดเมื่อคลื่นตั้งแต่สองคลื่น
ที่มีการกระจัดไปทางทิศตรงข้ามกันเคลื่อนที่มาพบกันเช่น สันคลื่นกับท้องคลื่นหรือท้องคลื่น
กับสันคลื่น คลื่นทั้งสองจะรวมกันทำให้เกิดการกระจัดลัพธ์ ณ ตำแหน่งและเวลาหนึ่ง มีขนาด
น้อยกว่าการกระจัดของคลื่นเดิมโดยการกระจัดรวมหาได้จากผลต่างของการกระจัดของคลื่นทั้งสอง
ตำแหน่งและเวลานั้น ดังรูป 4-4 (ก) คลื่น A และ B มีการกระจัดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้าม
ทำให้รวมกันแบบหักล้างหมดพอดี คลื่นรวม C จึงมีค่าเท่ากับ 0 เมื่อคลื่นทั้งสองเคลื่อนที่ผ่านพ้น
กันไปแล้วคลื่นแต่ละคลื่นจะยังคงมีลักษณะเหมือนเดิม และเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมดังรูป 4-4 (ข)

ก. การรวมแบบหักล้างกันของคลื่น 2 ขบวน

ข. การรวมกแบบหักล้างของคลื่น 2 ลูก
ณ เวลาต่าง ๆ

การรวมกันหรือซ้อนทับกันแบบหักล้างของคลื่น (ที่มา: ณัฐภัสสร เหล่าเนตร


และประดิษฐ์ เหล่าเนตร., 2555, หน้า 25)

รูปที่ 4-5 รูปเคลื่อนไหวการรวมแบบหักล้างกันของคลื่น 2 ลูก (ที่มา: ปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล)

    จากรูป 4-5 นักเรียนจะสังเกตเห็นว่าเมื่อมีคลื่นดลในลวดสปริง 2 ลูกคลื่น เคลื่อนที่มาพบกัน
ในลักษณะ สันคลื่นพบท้องคลื่น จะเกิดการรวมแบบหักล้างกันทำให้แอมพลิจูดรวมมีค่าลดลง
เมื่อคลื่นผ่านพ้นกันแล้วคลื่นดลแต่ละลูก จะมีลักษณะเหมือนเดิม เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม


C
การซ้อนทับของคลื่น 3/6

รูปที่ 4-4

02/12/2558