โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

รูปที่ 4-2 รูปเคลื่อนไหวการรวมแบบเสริมกันของคลื่น 2 ลูก (ที่มา: ปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล)

รูปที่ 4-3 การทดลองเสมือนจริงการรวมกันของคลื่น (ที่มา: THOMSON, BROOKS and COLE, 2004)

    จากรูป 4-2 นักเรียนจะสังเกตเห็นว่าเมื่อมีคลื่นดลในลวดสปริง 2 ลูกคลื่น เคลื่อนที่มาพบกัน
ในลักษณะ สันคลื่นพบสันคลื่น หรือท้องคลื่นพบท้องคลื่น จะเกิดการรวมกันแบบเสริมกัน
ทำให้แอมพลิจูดรวมมีค่ามากขึ้น เมื่อคลื่นผ่านพ้นกันแล้วคลื่นดลแต่ละลูก จะมีลักษณะ
เหมือนเดิม เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม และในรูป 4-3 นักเรียนสามารถทำการทดลองเสมือนจริง
การรวมกันของคลื่นสองลูก โดยเปลี่ยนแอมพลิจูดของคลื่นทั้ง 2 ให้สังเกตการรวมกันของคลื่น

หมายเหตุ: ถ้าไม่สามารถทดลองได้ให้ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมจาวา และ
                 แฟลช ก่อนค่ะ โปรดอ่านรายละเอียดตรงคำแนะนำในการเรียน
การซ้อนทับของคลื่น 2/6
02/12/2558