โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล

คลื่นผิวน้ำ

    ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าคลื่นน้ำเป็นคลื่นผสมระหว่างคลื่นตามขวางและคลื่นตามยาว แต่เนื่องจาก
การมองที่ผิวน้ำจะมองเห็นเป็นคลื่นตามขวางได้ชัดเจน ในเนื้อหานี้จึงจะให้คลื่นผิวน้ำเป็นคลื่น
ตามขวาง ดังรูป 3-17

รูปที่ 3-17 ภาพเคลื่อนไหวลักษณะของคลื่นน้ำ (ที่มา: http://www.atom.rmutphysics.com/)
   
    จากรูป 3-17 คลื่นผิวน้ำเป็นคลื่นกลที่เกิดขึ้นเมื่อผิวน้ำถูกรบกวนและมีการถ่ายโอนพลังงาน
ผ่านโมเลกุลของน้ำ เมื่อคลื่นผิวน้ำเคลื่อนที่จะเห็นสันคลื่นและท้องคลื่นเคลื่อนที่ตามกันไป
อย่างต่อเนื่อง แต่อนุภาคของน้ำที่ตำแหน่งต่าง ๆ บนคลื่นเมื่อขยับขึ้นจนถึงตำแหน่งสูงสุด
แล้วจะขยับลงมายังตำแหน่งต่ำสุด จากนั้นก็ขยับขึ้นไปใหม่อีก  วนเวียนในลักษณะเช่นนี้
ตราบเท่าที่ยังมีคลื่นบนผิวน้ำ โดยโมเลกุลของน้ำไม่ได้เคลื่อนที่ตามไปกับคลื่นจะเห็นได้ว่า
ขนาดของวงกลมแทนการกระจัดของอนุภาคน้ำ ยิ่งน้ำลึกการกระจัดก็จะน้อยลงด้วย
เช่น ผิวน้ำคลื่นมีการกระจัด 1 เมตร ที่ตำแหน่งเดียวกันลึกจากผิวน้ำ 10 เมตร
คลื่นจะมีการกระจัด 0.1 เมตร เป็นต้น
   

    ตัวอย่างที่เห็นได้ เช่น การสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล ทุ่นลอยของแท่น
จะอยู่ลึกลงไปจากผิวน้ำประมาณ 10-20 เมตร ดังรูป 3-18

รูปที่ 3-18 แท่นขุดเจาะน้ำมันแบบลอยตัวกึ่งจม  (ที่มา: http://www.geothai.net)
คลื่นบนเส้นเชือกและคลื่นผิวน้ำ 18/21