โดย ครูปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล
การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล(S.H.M) 10/21
และถ้าเวลาที่พิจารณา คือเวลาเริ่มต้น
รูปที่ 2-18 ลักษณะของคลื่นในเส้นเชือกที่เวลาต่าง ๆ (ที่มา: สสวท., 2556, หน้า 8)
เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของคลื่นในเส้นเชือกกับรอยทรายและรอยปากกาที่ติดกับมวล m เมื่อมี
การเคลื่อนที่แบบสั่น จะมีรูปแบบการเคลื่อนที่ ที่เหมือนกัน และถ้านักเรียนสังเกตการเคลื่อนที่
ของมวล m ที่ติดกับสปริงและโมเลกุลในเส้นเชือกขณะที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน พบว่าจะเคลื่อนที่ไป
ตามเส้นทางเดิมในทิศทางตรงข้ามกันกลับไปกลับมา และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ จะเคลื่อนที่กลับมา
ยังตำแหน่งเดิมในช่วงเวลาที่เท่า ๆ กันด้วย เราจึงเรียกการเคลื่อนที่ในลักษณะเช่นนี้ได้อีกอย่าง
หนึ่งว่าการเคลื่อนที่อย่างเป็นคาบ (periodic motion) หรือ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
(simple harmonic motion) นั่นเอง
คาบของการแกว่งขึ้นอยู่กับ
ความยาวของเชือก
หรือความยาวของ
แขนที่ติดลูกตุ้ม