โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล
การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล 2/21

รูปที่ 2-3 ภาพเคลื่อนไหวการถ่ายโอนพลังงานของวัตถุ (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)

    จากรูปที่ 2-3 จะสังเกตเห็นว่า เมื่อเราใช้มือ (มือ คือ แหล่งต้นทางของการรบกวน) ผลักรีมกระดาษ
(รีมกระดาษ คือ ตัวกลางที่รับการรบกวน) จะทำให้รีมกระดาษได้รับพลังงานและส่งต่อพลังงาน
(รับและส่งพลังงาน คือ กรรมวิธีที่การส่งผ่านพลังงาน ระหว่างอนุภาคของตัวกลางที่อยู่ใกล้เคียง)
ให้รีมกระดาษที่อยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ จนกระดาษรีมสุดท้ายล้มลง โดยที่กระดาษรีมแรกไม่ได้เคลื่อนที่
ไปหากระดาษรีมสุดท้าย แต่สามารถทำให้กระดาษรีมสุดท้ายล้มได้ หมายความว่า มีการส่งผ่านพลังงาน
แต่อนุภาคของตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับพลังงาน

    การศึกษาลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคของน้ำที่บริเวณผิวน้ำเมื่อเกิดคลื่น จะสังเกตได้
เมื่อคลื่นไปกระทบวัตถุที่ลอยน้ำ เช่น ใบไม้ ขวดน้ำ จะเห็นสิ่งของเหล่านี้เคลื่อนที่ในลักษณะ
เคลื่อนขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการสั่นขึ้นลงอย่างต่อเนื่องและซ้ำรอยเดิมดังรูปที่ 2-4

รูปที่ 2-4 ภาพเคลื่อนไหวการเคลื่อนที่ของวัตถุบนผิวน้ำ (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)
18/11/2558
18/11/2558