โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล
บทนำ 2/4

     เราได้ใช้ประโยชน์จากการถ่ายโอนพลังงานของคลื่น ทั้งโดยตรงจากคลื่นในธรรมชาติและ
โดยการประยุกต์ เช่น การได้ยินเสียง การเห็นวัตถุรอบตัว การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงาน
คลื่นน้ำในทางกลับกันเราก็ได้รับผลกระทบจากการถ่ายโอนพลังงานที่มาพร้อมกับคลื่น เช่น
อันตรายจากเสียงที่ดังเกินไป อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  การเกิดสึนามิ การกัดเซาะชายฝั่ง
ซึ่งมีสาเหตุจากพลังงานของคลื่นน้ำ

    รูป 1-4 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้าในยุคแรกๆ
ของประเทศไทยจะเป็นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดย กฟผ. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแล
การปล่อยน้ำ ทั้งเพื่อผลิตไฟฟ้าและการชลประทาน แต่ปัจจุบันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
เพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำนั้น จะมีข้อจำกัดในด้านความเหมาะสมของภูมิประเทศ

รูปที่ 1-4 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ


บาดแผลที่เกิดจากการได้รับ


(ที่มา: สสวท., 2555, หน้า 89)

    รังสีที่มนุษย์ได้รับจากสิ่งแวดล้อมมีปริมาณน้อยมากจึงไม่มีผลใดๆ ต่อร่างกายแต่ถ้าร่างกาย
ได้รับปริมาณรังสีระดับสูงมาก ดังรูป 1-5 อาการผิดปกติก็อาจเกิดทางร่างกายจนเป็นอันตราย
ต่อชีวิต อันตรายนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากสมบัติของรังสีที่ทำให้สารที่รังสีผ่านแตกตัวเป็นไอออน
กล่าวคือเมื่อร่างกายได้รับรังสี เนื้อเยื่อร่างกายจะดูดกลืนพลังงานของรังสีทำให้เซลล์ต่างๆ
ถูกทำลาย นอกจากนี้รังสียังอาจทำให้เกิดโรคเช่น มะเร็ง

รูปที่ 1-3 คลื่นในชีวิตประจำวัน (ที่มา: ปรีณาพรรณ พิมพ์พิศาล)

ก. การติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์มือถือ

ข. การดีดอูคูเลเล่ทำให้เกิดเสียง คลิกดูวิดีโอ

รังสีปริมาณสูงมาก

รูปที่ 1-5

18/11/2558
18/11/2558