โดย ครูปรีณาพรรณ  พิมพ์พิศาล
สรุปสาระสำคัญ 2/4
คลื่นผิวน้ำ
    คลื่นผิวน้ำเป็นคลื่นกล เมื่อผิวน้ำถูกรบกวนจะมีการถ่ายโอนพลังงานผ่านอนุภาคของน้ำ
โดยอนุภาคของน้ำไม่ได้เคลื่อนที่ไปกับคลื่น คลื่นหนึ่งลูกจะประกอบไปด้วยสันคลื่น
และท้องคลื่น โดยความยาวของคลื่นหนึ่งลูก เรียกว่าหนึ่งความยาวคลื่น โดยจุด 2 จุดที่ห่างกัน
หนึ่งความยาวคลื่น จะห่างจากระดับสมดุลเท่ากันและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า
จุดทั้งสองมีเฟสตรงกัน ส่วนจุด 2 จุด ที่อยู่ห่างกันครึ่งความยาวคลื่นจะอยู่ห่างจากระดับสมดุลเท่ากัน
และเคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกัน เรียกว่า จุดทั้งสองมีเฟสตรงข้ามกัน
อัตราเร็วคลื่น
    มีค่าคงตัวในตัวกลางหนึ่ง ๆ เมื่ออนุภาคสั่นขึ้นลงครบหนึ่งรอบ คลื่นผิวน้ำจะเคลื่อนที่ได้
หนึ่งลูกคลื่น ได้ระยะทางเท่ากับหนึ่งความยาวคลื่น ถ้าคลื่นผิวน้ำมีความถี่ f ดังนั้น ใน 1 วินาที
คลื่นผิวน้ำจะเคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่ากับ ความถี่คูณความยาวคลื่น และหาอัตราเร็วคลื่นได้จาก
ความสัมพันธ์ของสมการ
โดยที่
คือ    ความถี่ของคลื่น มีหน่วย เฮิรตซ์ (Hz)
คือ    อัตราเร็วของคลื่น มีหน่วย เมตรต่อวินาที (m/s)
คือ    ความยาวคลื่น มีหน่วย เมตร (m)
การซ้อนทับของคลื่น
    เมื่อคลื่นตั้งแต่สองคลื่นมาพบกันแล้วเกิดการรวมกัน การกระจัดของคลื่นรวมมีค่าเท่ากับ
ผลบวกของการกระจัดของแต่ละคลื่นที่มาพบกัน โดยถ้าคลื่นทั้งสองมีการกระจัดในทิศทางเดียวกัน
การกระจัดลัพธ์จะมีขนาดมากกว่าการกระจัดเดิมของแต่ละคลื่น แต่ถ้าคลื่นทั้งสองมีการกระจัด
ในทิศทางตรงกันข้าม การกระจัดลัพธ์จะมีขนาดน้อยกว่าการกระจัดเดิมของแต่ละคลื่นและหลังจาก
ที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านพ้นกันแล้ว แต่ละคลื่นยังคงมีรูปร่างลักษณะเหมือนเดิมและเคลื่อนที่ในทิศทางเดิม
สมบัติของคลื่น
    คลื่นสามารถสะท้อน หักเห แทรกสอด และเลี้ยวเบน

การสะท้อน
    เกิดเมื่อคลื่นเคลื่อนที่กระทบสิ่งกีดขวางแล้วเปลี่ยนทิศกลับมาในตัวกลางเดิม คลื่นที่เคลื่อนที่ไป
กระทบตัวกั้น เรียกว่า คลื่นตกกระทบ คลื่นที่เคลื่อนที่กลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน โดยการสะท้อน
จะเป็นไปตามกฏการสะท้อน ซึ่งได้ว่า มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ